วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553






โครงงานวิธีการทางประวัติศาสตร์




โครงงานวิธีการทางประวัติศาสตร์

เรื่อง มีอะไรในสวนประวัติศาสตร์

จัดทำโดย

น.ส.ชุติกาญจน์ อุทัยกิจ เลขที่9

น.ส.ธัญสินี สุดทองคง เลขที่11

น.ส.ปิยะวรรณ จันทร์เจริญ เลขที่ 12

น.ส.มณฑิตา เหมทานนท์ เลขที่ 13

น.ส.วีรยา ปาลิโภชน์ เลขที่ 14

น.ส.อภิชญา จิระแพทย์ เลขที่ 16

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8





บทที่1 บทนำ

ที่มาและความสำคัญ : เนื่องจากสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สงขลาเป็นสถานที่ที่จัดสร้างขึ้นใหม่ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อไม่นานมานี้และสวนประวัติศาสตร์แห่งนี้ยังตั้งอยู่ในท้องถิ่นบ้านเกิดของคณะผู้จัดทำ อีกทั้งทางคณะผู้จัดทำยังได้ยินคำล่ำลือว่ามีสิ่งที่น่าสนใจหลายๆอย่างอยู่ในสวนประวัติศาสตร์แห่งนี้ ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อที่จะศึกษาว่า จะมีอะไรอยู่ในสวนประวัติศาสตร์แห่งนี้บ้าง





วัตถุประสงค์ : เพื่อต้องการที่จะศึกษาว่าในสวนประวัติศาสตร์แห่งนี้มีอะไรที่น่าสนใจและสามารถนำมาเป็นความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ได้





ขอบเขตของการศึกษา

สถานที่ : สวนประวัติศาสตรื พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ระยะเวลาการดำเนินการ : 1 – 31 กรกฎาคม 2553





บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

สวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สงขลา ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 140 ไร่ บริเวณเชิงสะพานติณสูลานนท์ ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ที่ชาวสงขลาและผู้มีจิตศรัทธาในคุณงามความดี ความเสียสละของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ร่วมมือกันจัดสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติแด่ ฯพณฯ เพื่อให้เป็นสวนสาธารณะ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา

จุดเริ่มต้นของสวนประวัติศาสตร์แห่งนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2527 ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ได้สร้างสะพานติณสูลานนท์เชื่อมเกาะยอกับผืนแผ่นดินใหญ่ฝั่งอำเภอเมืองสงขลาและอำเภอ สิงหนคร

ในปีพ.ศ.2536 สภาตำบลเกาะยอ และพระกิตติมงคลพัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ ร่วมกับประชาชนชาวสงขลา โดยความเห็นชอบของสภาตำบล และสภาท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัด พร้อมใจกันเสนอแนวคิดสร้างรูปเหมือนของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษขึ้น เป็นแบบหรือสัญลักษณ์ของปูชนียบุคคลแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และยึดมั่นในการกระทำคุณความดี โดยกำหนดที่ตั้งรูปเหมือนไว้ที่สวนป๋าเปรม หมู่ 2 ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา พร้อมกับการสร้างอาคารเอนกประสงค์ และปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์รองรับ โดยเห็นพ้องต้องกันให้ตั้งชื่อโครงการว่า "สวนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์" และพัฒนาการจนมาเป็นสวนประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สงขลา ในวันนี้ภายในสวนประวัติศาสตร์แห่งนี้ ประกอบไปด้วยสถานที่ต่างๆดังนี้



1.หอประวัติ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ชมชีวประวัติ ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐบุรุษและปรานองคมนตรี ซึ่งจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการนำเสนอผ่านเทคโนโลยี ที่ทันสมัย และยังถ่ายทอดปรัชญาความคิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของชาวไทยได้เป็นอย่างดี



2.บ้านพธำมะรงค์(จำลอง) เป็นบ้านจำลองเหมือนจริง ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สมัยเยาว์วัยและครอบครัว ถ่ายทอดให้เห็นถึงวิถีชีวิตในอดีต โดยมีเครื่องเรือนโบราณและสิ่งของเครื่องใช้จัดแสดงให้ชมเหมือนบรรยากาศในยุคนั้น



3.เตาเผากระเบื้องโบราณ สื่อให้เห็นถึงการประกอบอาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านแถบเกาะยอและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมภายในท้องถิ่น และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในอดีต



4.ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน มีสะพานเดินศึกษาธรรมชาติ ความยาว 800 เมตร เป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณและสัตว์น้ำ



5.สวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายยามเย็น ทำกิจกรรมต่างๆกับครอบครัว มีสวนตาลโตนด สวนปาล์ม พันธุ์ไม้นานาชนิด และแหล่งน้ำกลางสวน ถือได้ว่าเป็นปอดของชาวสงขลาอย่างแท้จริง




นอกจากนี้ ภายในสวนประวัติศาสตร์แห่งนี้ยังมีประติมากรรมที่ชื่อว่า “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” และประติมากรรม “หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความซื่อสัตย์และจงรักภักดีสู่แผ่นดิน” และยังมีอาคารพักแรม อาคารกิจกรรมทางน้ำ ซึ่งสร้างความสนุกสนานให้แก่ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมมากมาย





บทที่3 วิธีดำเนินงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน : 1.กำหนดหัวข้อเรื่อง

2.ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล

3.นำข้อมูลหรือหลักฐานที่ได้มาพิจาณาและตรวจสอบ

4.ทำความเข้าใจในข้อมูลหรือหลักฐานนั้นๆ

5.นำข้อมูล หลักฐาน และเนื้อหาทั้งหมดมาเรียบเรียงจัดทำเป็นรูปเล่มแล้วนำเสนอ





บทที่4 ผลการศึกษา

จากการที่ทางคณะผู้จัดทำได้ไปศึกษาหาข้อมูลและหลักฐานที่สวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สงขลา ก็ได้ข้อมูลมาว่าภายในสวนประวัติศาสตร์นั้นมีสถานที่ที่แสดงให้เห็นและให้ทราบถึงประวัติศาสตร์หลายๆอย่าง ดังนี้



1.หอประวัติ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จะแสดงให้ทราบถึงชีวประวัติของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และถ่ายทอดปรัชญาความคิดของท่านซึ่งเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของชาวไทย



2.บ้านพธำมะรงค์จำลอง ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์สมัยเยาว์วัย ซึ่งจะถ่ายทอดให้เห็นถึงวิถีชีวิตในอดีต โดยมีเครื่องเรือนและสิ่งของเครื่องใช้โบราณจัดแสดง



3.เตาเผากระเบื้องโบราณ สื่อให้เห็นถึงการประกอบอาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านแถบเกาะยอและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมภายในท้องถิ่นและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในอดีต



4.ศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน จะมีสะพานเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณและสัตว์น้ำ ซึ่งในสมัยก่อนป่าชายเลนนี้จะมีเป็นจำนวนมากแต่ในสมัยนี้ป่าชายเลนมีจำนวนลดน้อยลงมาก ทางสวนประวัติศาสตร์จึงสร้างศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับป่าชายเลน





บทที่5 สรุปผลการศึกษา

จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าภายในสวนประวัติศาสตร์นั้นมีสถานที่ที่น่าสนใจอยู่มากมายและแต่ละสถานที่นั้นก็ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์มากมาย





ประโยชน์ที่ได้รับ : ได้ทราบว่าภายในสวนประวัติศาสตร์นั้นมีสถานที่มากมายที่ให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์สมัยโบราณและสถานที่ที่กล่าวมานี้ไม่เพียงแต่ให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์เท่านั้นแต่ยังให้ความรู้ในด้านอื่นๆอีกหลายๆด้าน เช่น ด้านธรรมชาติป่าชายเลน





ภาคผนวก

























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น