หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 (ภูมิปัญญาไทย)

                  


ภูมิปัญญา  หมายถึง  พื้นฐานความรู้ความสามารถ  ความคิด  ความเชื่อ  ความสามารถทางพฤติกรรม  ความสามารถในการแก้ไขปัญหา  โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว  และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว  และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา  อันเป็นผลของการใช้สติปัญญาปรับตัวให้เข้ากับสภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ที่กลุ่มชนเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่  รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น
    
          ดังนั้นภูมิปัญญาไทย  จึงหมายถึง  องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทั้งทางตรง  และทางอ้อม  ที่ประกอบด้วยแนวคิดในการแก้ปัญหาของตนเองจนเกิดการหลอมรวมเป็นแนวความคิดสำหรับแก้ปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง  ซึ่งสามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าว  แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามกาลเวลา

ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
          ได้แก่ ประโยชน์และความสำคัญของภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจ ที่จะร่วมแรงร่วมใจสืบสานต่อไปในอนาคต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุสถาปัตยกรรม ประเพณีไทย การมีน้ำใจ ศักยภาพในการประสานผลประโยชน์ เป็นต้น ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญดังนี้

1. ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น 
    พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงปกครองประชาชนด้วยพระเมตตาแบบพ่อปกครองลูก ผู้ใดประสบความเดือดร้อน
ก็สามารถตีระฆังแสดงความเดือดร้อนเพื่อขอรับพระราชทานความช่วยเหลือทำให้ประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระองค์
ต่อประเทศชาติ ร่วมกันสร้างบ้านเรือนจนเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น
     สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญากระทำยุทธหัตถีจนชนะข้าศึกศัตรู และทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาได้
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญาสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ
และเหล่าพสกนิกรมากมายเหลือคณานับ ทรงใช้พระปรีชาสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ จนรอดพ้นภัยพิบัติ หลายครั้งพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน แม้แต่ด้านการเกษตร พระองค์ได้พระราชทานทฤษฎีใหม่ให้แก่พสกนิกรทั้งด้านการเกษตรแบบสมดุลและยั่งยืน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นำความสงบร่มเย็นของประชาชนให้กลับคืนมา สมดังพระราชประสงค์ที่ทรงอุทิศพระวรกายและพระสติปัญญาในการพัฒนาการเกษตรไทยตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์
     
 2. สร้างความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแก่คนไทย 
    คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทยจนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึกและแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลก ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรมหลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา
     ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูดใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น       
 3.สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม 
    คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อน-น้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอมรักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายปกติสุข ทำให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดอยากเพราะแห้งแล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัยกัน แบ่งปันกันแบบ "พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้" เป็นต้น ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการใช้ภูมิปัญญาในการนำเอาหลักของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และดำเนินกุศโลบายด้านต่างประเทศ จนทำให้ชาวพุทธทั่วโลกยกย่องให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางพุทธศาสนา และเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.)

4. สร้างความสมดุลระหว่างคนในสังคมและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
    ภูมิปัญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องของการยอมรับนับถือ และให้ความสำคัญแก่คน สังคมและธรรมชาติอย่างยิ่ง มีเครื่องชี้ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากมาย เช่น ประเพณีไทย 12 เดือนตลอดทั้งปี ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทงเป็นต้น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ทำในฤดูร้อนซึ่งมีอากาศร้อน ทำให้ต้องการความเย็นจึงมีการรดน้ำดำหัว ทำความสะอาดบ้านเรือนและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการแห่นางสงกรานต์การทำนายฝนว่าจะตกมากหรือน้อยในแต่ละปี ส่วนประเพณีลอยกระทง คุณค่าอยู่ที่การบูชาระลึกถึงบุญคุณของน้ำ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคน พืช และสัตว์ ให้ได้ใช้ทั้งบริโภคและอุปโภค ในวันลอยกระทง คนจึงทำความสะอาดแม่น้ำลำธาร บูชาแม่น้ำจากตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติทั้งสิ้น
     ในการรักษาป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ได้ประยุกต์ให้มีประเพณีการบวชป่า ให้คนเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ยังความอุดมสมบูรณ์แก่ต้นน้ำ ลำธาร ให้ฟื้นสภาพกลับคืนมาได้มาก
     อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนไทยที่คำนึงถึงความสมดุล ทำแต่น้อยพออยู่พอกินแบบ "เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน" ของพ่อทองดี นันทะ เมื่อเหลือกินก็แจกญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง นอกจากนี้ ยังนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่นที่ตนไม่มี เมื่อเหลือใช้จริงๆ จึงจะนำไปขาย อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเกษตรแบบ "กิน-แจก-แลก-ขาย" ทำให้คนในสังคมได้ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันกัน เคารพรักนับถือ เป็นญาติกันทั้งหมู่บ้าน จึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นธรรมชาติไม่ถูกทำลายไปมากนัก เนื่องจากทำพออยู่พอกิน ไม่โลภมากและไม่ทำลายทุกอย่างผิดกับในปัจจุบัน ถือเป็นภูมิปัญญาที่สร้างความสมดุลระหว่างคน สังคม และธรรมชาติ

 5. เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามยุคสมัย        
    แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่จะหลั่งไหลเข้ามามาก แต่ภูมิปัญญาไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นการรู้จักนำเครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัดเป็นหางเสือ ทำให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น เรียกว่า เรือหางยาว การรู้จักทำการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถพลิกฟื้นคืนธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์แทนสภาพเดิมที่ถูกทำลายไป การรู้จักออมเงิน สะสมทุนให้สมาชิกกู้ยืม ปลดเปลื้องหนี้สิน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก จนชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถช่วยตนเองได้หลายร้อยหมู่บ้านทั่วประเทศ เช่นกลุ่มออมทรัพย์คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราชจัดในรูปกองทุนหมุนเวียนของชุมชน จนสามารถช่วยตนเองได้

          


ประเภทของภูมิปัญญาไทย
          จากการศึกษาพบว่า มีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่หน่วยงาน องค์กร และนักวิชาการแต่ละท่านนำมากำหนด ในภาพรวมภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขาดังนี้
  • 1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ ได้
  • 2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตผล เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้
  • 3. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้
  • 4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
  • 5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและบริการกองทุน และธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุม
  • 6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
  • 7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น
  • 8. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่างๆ ให้สามารถพัฒนา และบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์การ เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น
  • 9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้ง ด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรต หนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น
  • 10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
  • 1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
  • 2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
  • 3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
  • 4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
  • 5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
  • 6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
  • 7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม







วัฒนธรรม     มาจากภาษาอังกฤษว่า Culture ซึ่งคำเดิมในภาษาละตินคือ Cultura มีความหมายหลาย   อย่าง เช่น การเพราะปลูก การปลูกฝัง การปลูกพืช การทำให้ดีกว่าเดิมโดยการอบรมหรือฝึกหัด          ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑืตยสถาน พ.ศ. 2552 คำว่า วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งททำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ ดังนั้น สิ่งใดก็ตามหากมีการเจริญขึ้นด้วยการศึกษาอบรมจะอยู่ในขอบข่ายความหมายของคำว่าวัฒนธรรมได้ทั้งสิ้น      พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติไว้ โดยมาจากการรวมกันสองคำ คือ
       - วฒน มาจาก วุฒุน ในภาษาบาลี หมายถึง ความเจริญงอกงาม
       - ธรรม มาจาก ธรุม ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สภาพที่เป็นอยู่จริง
       วัฒนธรรม หมายถึง สภาพที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม หรือความมีระเบียบวินัย
        นิยามของคำว่า วัฒนธรรมนั้น ยังมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้คำจำกัดความไว้ แต่กล่าวโดยสรุปแล้ว
ความหมายของวัมนธรรมเป้นดังนี้
       

      วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคมในการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าคนส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงาม โดยสร้างเป็นกฎเกณฑ์แบบแผน เพื่อนำไปปฎิบัติให้เป็นไปตามรูปแบบเดียวกัน ถือเป็น "มรดดกแห่งสังคม" เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้รับมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดให้แก่อนุชนรุ่นหลัง จนเป็นวิถีของสังคม

ประเภทของวัฒนธรรม
       ประเภทของวัฒนธรรมนั้น มีการจำแนกเป็น 2 แนวคิด ดังนี้
       - แนวคิดที่ 1 ตามหลักด้านสังคมวิทยา
       - แนวคิดที่ 2 ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2585
       แนวคิดที่ 1 แบ่งประเภทวัฒนธรรมตามหลักทางด้านสังคมวิทยา ซึ่งเป็นทีียอมรับจากสังคมโดยทั่วไป
แบ่งได้ 2 ประเภท ตามลักษณะสภาพสังคมในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้จะต้องสอดคล้องเป็นเหตุ
เป็นผลต่อกัน แต่รูปแบบที่มีลักษณะสวนทางกันซึ่งแนวคิดนี้จำแนกเ็ป็น
       - วัฒนธรรมทางวัตถุ (material Culture)
       - วัฒนธรรมที่ไม่วัตถุ (Non-material Culture)
       

          1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านรูปธรรมที่ีสามารถสัมผัสได้
มีรูปร่าง จากสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาใช้ในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร บ้านเรือน ยารักษาโรค
เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น

                                           


                  2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ (Non - material Culture) หมายถึงวัฒนธรรมด้านนามธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น ภาษา ความคิด ค่านิยม ถ้อยคำที่ใช้พูด ถ้อยคำที่ใช้พูด ประเพณี ความเชื่อที่มนุษย์ยึดถือเกี่ยวกับศาสนา ลัทธิทางการเมือง วัฒนธรรมประเภทนี้บางครั้งรวมเอากติกาการแข่งขันกีฬา แนวคิดเกี่ยวกับยุทธวิธีของผู้แข่งขัน และการดูการแข่งขันไว้ด้วย

                                          

หน้าที่ของวัฒนธรรม
       วัฒนธรรมมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
       1. วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซ่งลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม เช่น
วัฒนธรรม ศาสนาอิสลาม อนุญาตให้ชาย(ที่มีความสามารถเลี้ยงดูและให้ ความยุติธรรมแก่ภรรยา) มีภรรยาได้มากกว่า 1 คน โยไม่เกิน 4 คน แต่ห้ามสมสู่ระหว่างเพศเดียวกันอย่างเด็ดขาด ในขณะที่ศาสนาอื่นอนุญาตให้ชาย
มีภรรยาได้เพียง 1 คน แต่ไม่มีบัญญัติห้ามความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ฉะนนั้นรูปแบบของสถาบันครอบครัว
จึงอาจแตกต่างไป
     
ปัจจัยที่ทำให้สังคมต่างๆ มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
   
 สังคมหนึ่งจะต้องมีวัฒนธรรมหรือวิถีการดำเนินชีวิตเป็นลักษณธเฉพาะของสังคมนั้นวัฒนธรรมจึงเป็น
เอกลักษณ์ของชาติ สาเหตที่ทำให้สังคมมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมีดังนี้
    1. ความคิดเห็นและการมองเห็นโลกที่แตกต่างกันไป มนุษย์ทุกแห่งในโลกต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ ความเชื่อ
ศาสนา การปกครอง เศษรซกิจ แม้นแต่การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ตลอดจนการคบค้าสมาคม แต่รูปแบบของสิ่งเหล่านี้
จะแตกต่างกันไปตามความคิดเห็นและคำนิยมของแต่ละสังคม
    2. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน
      - มนุษย์ที่อยู่ในเขตหนาวก็ต้องพบปัญหาต่างกันกับมนุษย์ที่อยู่ในเขตร้อน
      - มนุษย์ที่อยู่บนภูเขาย่อมมีปัญหาต่างจากมนุษย์ที่อยู่ในที่ลุ่ม
      - มนุษย์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมคล้ายกันอาจมองโลกต่างกัน หรือความแตกต่างของเหตุการณ์ ใน
ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
      - มนุษย์ที่เกิดในสิ่งแวดล้อมใดก็มักจะคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของตน
      อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มีลักษณะเฉพาะและเปลี่ยนแปลงได้จาก ภายใต้
ในสังคมหรือกระจายมาจากสังคมอื่น จึงควรระลึกเสมอว่าวัฒนธรรมใหม่ใช้ว่าจะดีทุกอย่าง ของเก่าก็ไม่ใช่ดี
ทั้งหมด จึงควรรู้จักการเลือกสิ่งใหม่ที่ดีและเก็บของเก่าที่ดีไว้เช่นกัน